PINKMAN STORY by Manit Sriwanichpoom พิ้งค์แมนสตอรี่ โดย มานิต ศรีวานิชภูมิ
Like the birth of a monster Godzilla from radioactive after Atomic bomb in Japan at World War II, 1945. ‘Pink Man’ (performed by Sompong Thawee) was born as a product of economic crisis, known as Tom Yum Kung crisis, starting from Thailand to all over Asia. A fat wearing shocking pink executive suit with his empty pink shopping cart starts roaming around with full of greed and nouveau riche’s tastelessness to pursue materials. As soon as he appeared to the art world, he became its icon. The long time adventure to heaven earth and hell of mister pink over 20 years (1997-2018) has been put together in a book “Pink Man Story” that features photographic works, sculptures and activities including his last day at New York where his life was ended by American gun culture and racism. There are texts contributed by well known artist, writer, curator and art scholar.
Manit Sriwanichpoom (b 1961) is one of Thailand’s leading photo artists, and the best known in the international art world, having exhibited worldwide including in the Kasseler Kunstverein (Germany, 2018), Saatchi Gallery (London, 2015), RAY Fotografieprojekte (Frankfurt, 2012), the Centre Pompidou (Paris, 2010), the Asia Pacific Triennial (Australia, 2009), Photoquai (Paris, 2007), Gwangju Biennale (Korea, 2006) and the Venice Biennale (2003). His works are collected by important museums including in the Maison Europeenne de la Photographie (Paris), DZ Bank (Germany), Asian Art Museum of San Francisco (USA), Smith College Museum of Art (USA), Fukuoka Asian Art Museum (Japan), Queensland Art Gallery (Australia), National Gallery of Australia, National Gallery Singapore, Singapore Art Museum and well known private collectors. In 2007 he was awarded the Higashikawa Overseas Photographer Prize from Japan and 2014 the Chevalier des Arts et Lettres by French Ministry of Culture.
25 x 25 x 1.5 cm., 280 pages, fully illustrated in color, text in Thai and English, Hardcover, 2021.
[หนังสือสองภาษา: ไทย/อังกฤษ]
ดุจเดียวกับการกำเนิดสัตว์ร้ายก็อดซิลล่า (Godzilla) จากผลของกัมมันตภาพรังสี ภายหลังการถล่มด้วยอาวุธนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 2488, ‘พิ้งค์แมน’ (แสดงโดย สมพงษ์ ‘ทวี) ถือกำเนิดจากวิกฤตเศรษฐกิจหรือวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 ที่เริ่มจากไทยและระบาดไปทั่วเอเชีย ชายอ้วนผู้สวมสูทนักบริหารสีชมพูสะท้อนแสง พร้อมกับรถเข็นช้อปปิ้งอันว่างเปล่าสีเดียวกัน ออกเดินอาละวาดแสดงความโลภ ความไร้รสนิยมแบบเศรษฐีใหม่ผู้บูชาวัตถุเป็นพระเจ้า ทันทีที่พิ้งค์แมนปรากฏกายเขาก็ได้กลายเป็น “ภาพจำ” (Icon) หนึ่งของวงการศิลปะร่วมสมัยไทยและของโลก การผจญภัยท่องโลกสวรรค์, มนุษย์ และนรก ของบุรุษสีชมพูอันยาวนาน 20 ปี (2540 – 2561) ได้ถูกรวบรวมอยู่ใน “พิ้งค์แมนสตอรี่” หนังสือรวมภาพถ่ายผลงานและกิจกรรมที่เต็มไปด้วยสีสันจนถึงวันสุดท้าย วันที่เขาจบชีวิตลงที่มหานครนิวยอร์คจากความรุนแรงของวัฒนธรรมบูชาปืนและการเหยียดผิวของชาวอเมริกัน ตอนท้ายเล่มมีบทความวิเคราะห์น่าสนใจที่เขียนถึงพิงค์แมนโดยศิลปิน, ภัณฑารักษ์, นักเขียน และนักวิชาการศิลปะผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน
มานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปินภาพถ่ายผู้สร้างสรรค์และบุกเบิกวงการภาพถ่ายร่วมสมัยของไทยมาอย่างยาวนาน ผลงานอันเต็มไปด้วยสีสันของเขามีเนื้อหาเสียดสีวิพากษ์วิจารณ์สังคม การเมือง และศาสนา ทั้งเคยเข้าร่วมแสดงในนิทรรศการและเทศกาลศิลปะนานาชาติสำคัญๆ มาแล้วมากมาย อาทิ เวนิส เบียนนาเล่ (อิตาลี 2546), ฟูโกโอกะ เอเชียน อาร์ต ไทรเอ็นเนียล (ญี่ปุ่น 2542), เอเชีย-แฟซิฟิก ไทรเอ็นเนียล (ออสเตรเลีย 2552), กวางจู เบียนนาเล่ (เกาหลี 2549) และ โฟโต้ เอสปาญ่า (สเปน 2544) เป็นต้น ผลงานของเขายังได้รับการสะสมโดยพิพิธภัณฑ์นานาชาติ อาทิ Maison Europeenne de la Photographie (ฝรั่งเศส), Deutsche Bank (เยอรมัน), Queensland Art Gallery (ออสเตรเลีย), National Gallery of Australia, Singapore Art Museum และ Koc Foundation (ตุรกี) เป็นต้น
We Also Recommend