Destination: Still Unknown by Pramuan Burusphat ประมวล บุรุษพัฒน์
Since the late 70s, Ajarn Pramuan has displayed a rare commitment towards photography as his medium-of-choice in his artistic practice. A pioneer of conceptual photography in Thailand, his work also incorporates collage and drawing.
Pramuan’s usage of photography is different from the salon photographers and the photojournalists. He enjoys experimenting with different photographic processes and printing technologies, creating imageries informed by his personal experiences. Pramuan sees photography as a way to connect and dialogue with the global community of artists and photographers. Since the 90s, Pramuan has also been thinking about the artist’s role in wastage and consumption (through the making of art), prompting him to shift his work in a new direction. In many ways, he is constantly ahead of the curve.
In Southeast Asia, photography’s place in the visual arts remains uncertain. For decades, Ajarn Pramuan found himself operating in an unsympathetic environment. Nevertheless, since the late 70s, he has participated in ten solo shows and over 70 group exhibitions across the world.
Graduating with a MFA in photography from the North Texas State University in 1979, Pramuan taught art history and printmaking at Srinakharinwirot University from 1980 to 1982. In 1982, he became a founding member of the Faculty of Fine and Applied Arts at Chulalongkorn University. From 1984 to 1988 and from 1991 to 1994, he headed the Department of Visual Arts at the faculty. In 1983, he pioneered the first BFA programme in photography in Thailand. Many of his students are now accomplished artists, photographers and educators. Since 1998, Pramuan has relocated to New Zealand.
5 x 18 x 1.5 cm., 192 pages, text in Thai and English, Softcover, 2017.
(หนังสือสองภาษา: ไทย/อังกฤษ)
Destination: Still Unknown หนังสือรวมผลงานย้อนหลัง 40 ปี ของ ประมวญ บุรุษพัฒน์ จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและยกย่องท่านในฐานะศิลปินภาพถ่าย, นักการศึกษา และผู้บุกเบิกศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัยไทย
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา อาจารย์ประมวญแสดงให้ประจักษ์ถึงความมุ่งมั่นจริงจังต่อภาพถ่ายในฐานะสื่อแห่งการแสดงออกทางศิลปะ ทั้งเป็นผู้บุกเบิกภาพถ่ายเชิงแนวคิด (Conceptual photography) ที่มีการนำเอาเทคนิคสื่อผสม ตัดปะ ระบายสี และวาดเส้นประกอบเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างสรรค์งาน
ประมวญใช้ภาพถ่ายแตกต่างจากช่างภาพแนวสวยงามและช่างภาพข่าว เขาสนุกกับการทดลองเทคนิคกระบวนการล้างอัดขยายภาพ เพื่อแปรเปลี่ยนภาพถ่ายส่วนตัวธรรมดาให้มีรูปลักษณ์ใหม่อันน่าตื่นตา ประมวญมองเห็นว่าภาพถ่ายเป็นหนทางหนึ่งที่เขาจะเชื่อมต่อและสร้างบทสนทนากับชุมชนศิลปินและช่างภาพทั่วโลก ช่วงปี พ.ศ. 2530 ท่ามกลางขยะล้นโลกและการบริโภค (ซึ่งกระบวนการสร้างงานศิลปะก็เป็นหนึ่งในนั้น) ประมวญคิดและและตั้งคำถามต่อบทบาทหน้าที่ของศิลปิน และนั่นทำให้เขาเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ ซึ่งรวมถึงการใช้เศษกระดาษอัดรูปที่ทิ้งแล้ว และการนำเอารูปเก่ามาใช้ใหม่ เหล่านี้คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นความเป็นแนวหน้าของเขา
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาพถ่ายยังไม่มีพื้นที่ที่แน่นอนนักในโลกทัศนศิลป์ หลายทศวรรษที่ผ่านมา ประมวญต้องทำงานอยู่ภายใต้เงื่อนไขอันไร้ความเป็นมิตร อย่างไรก็ตาม ประมวญสามารถแสดงผลงานเดี่ยว 10 ครั้ง และงานกลุ่มกว่า 70 ครั้งทั่วโลก
ประมวญ บุรุษพัฒน์ (เกิด 2496 กรุงเทพ) จบปริญญาโท สาขาภาพถ่าย จากม. นอร์ทเท็กซัสสเตท ปี 2522 เมื่อกลับเมืองไทย เขาได้สอนประวัติศาสตร์ศิลป์และภาพพิมพ์ที่ ม.ศรีนครินทร์วิโรฒ (ประสานมิตร) จากปี 2523 – 2525 และในปี 2525 เขาได้ร่วมก่อตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จากปี 2527 – 2531 และ 2534 – 2537 เขาดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคทัศนศิลป์ของคณะ ลูกศิษย์ของเขาหลายคนเป็นศิลปินภาพถ่ายและนักการศึกษาที่มีชื่อเสียง นับตั้งแต่ปี 2541 ประมวญย้ายไปพำนักและสร้างสรรค์งานอยู่นิวซีแลนด์ จนถึงปัจจุบัน
We Also Recommend